Memory คืออะไร
Memory (หน่วยความจำ) เป็นอุปกรณ์อีเลคโทรนิคส์ ที่ใช้เก็บคำสั่ง และข้อมูลที่ไมโครเซสเซอร์ สามารถเข้าถึงได้เร็ว เมื่อคอมพิวเตอร์ อยู่ในการทำงานปกติ หน่วยความจำจะเก็บส่วนใหญ่ของระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมประยุกต์บางส่วนหรือทั้งหมด และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน หน่วยความจำมักจะใช้ ในความหมายเดียวกับหน่วยความจำชั่วคราว หน่วยความจำชนิดนี้ ตั้งอยู่บนไมโครซิปหนึ่ง หรือมากกว่า ใกล้กับไมโครโพรเซสเซอร์ในคอมพิวเตอร์ การมีขนาด RAM ยิ่งมากจะช่วยลดความถี่ของคอมพิวเตอร์ ในการเข้าถึงคำสั่ง และข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เวลามาก บางครั้งหน่วยความจำได้รับการแยก จากการเป็นที่เก็บ หรือตัวกลางทางกายภาคที่ใช้เก็บข้อมูล จำนวนมากที่มากกว่า RAM และอาจจะไม่ต้องการในเวลานั้น อุปกรณ์การเก็บรวมถึงฮาร์ดดิสก์, ฟล๊อปปี้ดิสก์, CD-ROM และระบบเทปสำรองข้อมูล คำว่า auxiliary storage, auxiliary memory และ secondary memory ใช้สำหรับที่เก็บข้อมูลประเภทนี้
หน่วยความจำอีกชนิดที่เข้าถึงได้เร็ว คือ read-only-memory (ROM), programmable ROM และ erasable programmable ROM หน่วยความจำเหล่านี้ใช้เก็บโปรแกรมพิเศษและข้อมูล เช่น basic input/output system (BIOS) ซึ่งคอมพิวเตอร์ต้องการตลอดเวล
หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ (computer memory) มี 2 ประเภท คือ
1. หน่วยความจำหลัก (primary storage) หรือ หน่วยความจำภายใน (internal memory) จะอยู่ภายในเครื่อง เป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูล(data) และชุดคำสั่ง (instruction) มีหน้าที่
- เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาเพื่อนำไปประมวลผล หน่วยความจำส่วนนี้เรียกว่า ที่เก็บข้อมูล (Input Storage Area)
- เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย หน่วยความจำส่วนนี้เรียกว่า ที่เก็บข้อมูลขณะดำเนินการ
(Working Storage Area)
- เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย เรียกหน่วยความจำส่วนนี้ว่า ที่เก็บผลลัพธ์ (Output Storage Area)
- เก็บชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผล เรียกหน่วยความจำส่วนนี้ว่า ที่เก็บโปรแกรม (Program Storage Area)
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary storage) ใช้เป็นส่วนเพิ่มความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่ออยู่กับหน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรองมีความจุมากและมีราคาถูก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่าส่วนความจำหลัก คือ ทำงานได้ในเวลาเศษหนึ่งส่วนพันวินาทีเช่น แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) จานแม่เหล็ก (Hard disk) แผ่นซีดี (CD Rom) เป็นต้น
1. หน่วยความจำหลัก (primary storage) หรือ หน่วยความจำภายใน (internal memory) จะอยู่ภายในเครื่อง เป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูล(data) และชุดคำสั่ง (instruction) มีหน้าที่
- เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาเพื่อนำไปประมวลผล หน่วยความจำส่วนนี้เรียกว่า ที่เก็บข้อมูล (Input Storage Area)
- เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย หน่วยความจำส่วนนี้เรียกว่า ที่เก็บข้อมูลขณะดำเนินการ
(Working Storage Area)
- เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย เรียกหน่วยความจำส่วนนี้ว่า ที่เก็บผลลัพธ์ (Output Storage Area)
- เก็บชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผล เรียกหน่วยความจำส่วนนี้ว่า ที่เก็บโปรแกรม (Program Storage Area)
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary storage) ใช้เป็นส่วนเพิ่มความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่ออยู่กับหน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรองมีความจุมากและมีราคาถูก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่าส่วนความจำหลัก คือ ทำงานได้ในเวลาเศษหนึ่งส่วนพันวินาทีเช่น แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) จานแม่เหล็ก (Hard disk) แผ่นซีดี (CD Rom) เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น