1) กล้องคอมแพค (Compact) เป็นกล้องที่ใช้ CCD ตลอดเวลาเพื่อส่งภาพไปที่จอ LCD มี CCD ขนาดเล็กเพื่อให้เกิดความร้อนใน CCD น้อยที่สุด เมื่อต้องการบันทึกภาพ ก็ Copy ข้อมูลบน CCD ในวินาทีที่ต้องการแล้วเอาไปโพรเซสต่อ มีเลนส์ที่ติดตั้งคู่กับ CCD ตลอดเวลาไม่สามารถถอดออกได้ในการใช้งานปรกติ ภาพที่เห็นในช่องมองภาพเป็นคนละภาพ(ใกล้เคียง)กับภาพที่ต้องการถ่าย สามารถปรับรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ได้น้อย ตัวกล้องมีขนาดเล็ก การทำงานเพื่อบันทึกภาพของกล้องดิจิตอลคอมแพค (Digital Compact) ก็เป็นหลักการเดียวกับกล้อง DSLR เพียงแต่กล้องดิจิตอลคอมแพค (Digital Compact) จะไม่มีกระจกสะท้อนภาพ ไม่มีม่านชัตเตอร์ แล้วก็ไม่มี Pentaprism จะถ่ายรูปออกมาได้ เมื่อแสงลอดผ่านเลนส์เข้ามามันก็จะตกกระทบลงบนเซนเซอร์รับภาพ นั่นก็คือเซนเซอร์จะได้รับแสงตลอดเวลาที่เปิดกล้อง ตรงนี้ทำให้เกิดข้อดีคือ สามารถนำมาทำเป็นระบบ Live view อย่างที่ใช้กันอยู่ได้ (ระบบ Live View ก็คือการที่เรามองภาพก่อนถ่ายผ่านทางหน้าจอ LCD แทนที่จะเป็น Viewfinder)
ภาพแสดงกล้องดิจิตอลแบบคอมแพค
2) กล้องคอมแพคระดับสูง (Prosumer) (DSLR - Like)พัฒนาขึ้นจากคอมแพคให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น CCD ใหญ่ขึ้น เมื่อ CCD ใหญ่ขึ้นเลนส์ก็ต้องใหญ่ขึ้น ทำให้สามารถเก็บแสงได้มากขึ้นสีสันและมิติภาพจึงมีมากกว่าคอมแพค แต่การเก็บภาพยังใช้หลักการของคอมแพคคือ CCD รับภาพตลอดเวลาส่งให้ช่องมองภาพและจอ LCD การที่ CCD ต้องรับภาพตลอดเวลากลายเป็นข้อจำกัดของกล้องชนิดนี้ทำให้ไม่สามารถขยายขนาด CCD ให้ใหญ่ทัดเทียมกับ DSLR ได้ เลนส์ที่ติดตั้งก็จะติดตั้งมากับตัวกล้อง ภาพที่เห็นในช่องมองภาพเป็นภาพเดียวกับภาพที่ต้องการถ่าย สามารถปรับรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ได้แต่อยู่ในวงแคบหรืออาจจะได้เพียง อย่างเดียว
ภาพแสดงกล้องคอมแพคระดับสูง
3) กล้อง Digital Single Lense Reflex (DSLR) SLR ย่อมาจาก Single Lense Reflex แปลว่าใช้การสะท้อนของเลนส์ชุดเดียวทั้งแสงที่จะตกลงใน CCD และแสงที่เข้าสู่ตาในช่องมองภาพ ส่วนใหญ่ภาพที่เกิดในช่องมองภาพจะเกิดจากแสงจริงสะท้อนผ่านชิ้นเลนส์เข้าสู่ ตาไม่ได้เกิดจากการรับภาพของ CCD จึงไม่สามารถมองภาพผ่านทาง LCD ได้ มีเลนส์ขนาดใหญ่เพราะมีขนาด CCD ที่ใหญ่ CCD รับแสงเฉพาะตอนที่ม่านชัตเตอร์เปิดให้แสงผ่านเท่านั้น สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ เพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ มีทั้งเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสที่ตายตัว(Fixed) หรือ เปลี่ยนความยาวโฟกัสได้ (Zoom) แต่มีกล้อง DSLR บางชนิดที่สามารถมองภาพจาก LCD ได้โดยแยก CCD ออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกเอาไว้ประมวลผลภาพออกทาง LCD อีกชุดไว้บันทึกภาพ กล้องประเภทนี้มีตัวกล้องที่ใหญ่ กลไกการทำงานของกล้องประเภทนี้ถือว่าเป็นพื้นฐานไปสู่การทำงานของกล้องอื่นๆ ด้วย กล้อง DSLR นั้น ชื่อเต็มๆของมันก็คือ Digital Single-Lens Reflect ว่าแต่ ทำไมต้องเป็น Single-Lens Reflect Single Lens แปลออกมาตรงตัวได้ว่าเลนส์เดี่ยว นั่นก็คือกล้องที่มีเลนส์เพียงตัวเดียว ส่วนคำว่า Reflect นั้นเกิดขึ้นมาจากกระจกสะท้อนภาพอันหนึ่งซึ่งวางอยู่ด้านหน้าเซนเซอร์รับภาพ ซึ่งจะทำหน้าที่สะท้อนแสงที่ผ่านเข้ามาทางเลนส์ขึ้นสู่ช่องมองภาพ (Viewfinder)
ภาพแสดงกล้องดิจิตอลแบบ DSLR
25 เคล็ดลับการเลือกซื้อกล้องดิจิตอล
ก็เหมือนกับการเลือกซื้อของทุกอย่าง ที่คุณจะต้องรู้ก่อนว่าคุณมีงบกี่บาท เพราะการที่คุณไปยืนเลือกซื้อแน่นอนว่าจะต้องมีกล้องตัวที่ดีกว่า สวยกว่า และอาจจะแพงกว่า ถ้าคุณไม่อยากกระเป๋าฉีกก็กำหนดไว้เลยว่ามีงบเท่าไร สำหรับผู้เริ่มต้น ผมแนะนำให้มองหากล้องราคาถูก ที่มีฟังก์ชั่นมากพอ, น้ำหนักเบา, จับถนัดมือ เมื่อคุณใช้ได้คล่องแล้ว ผมคาดว่ามันก็จะเก่าพอดี แล้วคุณค่อยไปหาซื้อตัวใหม่ที่ดีกว่าตัวเดิม
#2. อย่าหลงเชื่อ ดิจิตอล ซูม
อย่าไปเชื่อคนขายเกี่ยวกับเรื่องของดิจิตอลซูม พูดให้เข้าใจง่ายๆ ดิจิตอลซูมก็คือการซูมสมมุติที่ระบบดิจิตอลทำให้ ไม่ใช่ความสามารถของเลนส์ ความแตกต่างก็คือ ดิจิตอลซูม จะเป็นการซูมที่ทำให้ภาพไม่คมชัด และอาจจะมีเม็ดสีขึ้นเต็มภาพ เพราะฉะนั้นให้เลือกดูที่ออฟติคอลซูมที่สูงที่สุดเท่าที่งบอำนวยดีกว่า (ยิ่งซูมได้มาก คุณก็สามารถดึงภาพเข้ามาได้ใก้ลมากขึ้น, สามารถยืนได้ห่างจะสิ่งที่ต้องการจะถ่ายได้มากขึ้น)
#3. 2 อย่างที่ต้องพิจารณาก่อนซื้อ
นั่นก็คือ การ์ดความจุ หรือที่เรียกว่าเมม กับแบตเตอรี่ คุณคงไม่อยากจะซื้อกล้องที่ใช้การ์ดเมมที่ชาวบ้านเขาไม่นิยมใช้กันใช่มั้ย เพราะนอกจากซื้อกล้องแล้วคุณยังจะต้องลงทุนซื้อตัวอ่านการ์ดที่ดูดข้อมูลเก็บเข้าคอมพ์อีกต่างหาก เอาเป็นว่าผมแนะนำให้หากล้องที่ใช้ CF การ์ด ส่วนเมมโมรี่ ก็เช่นเดียวกัน คุณคงไม่อยากจะมีที่ชาร์ตแบตแบบหลากชนิดเต็มบ้านไปหมด 2 สิ่งนี้ผมแนะนำให้ใช้แบบที่ส่วนใหญ่เขาใช้กันเพราะอนาคตถ้าคุณจะซื้อกล้องตัวใหม่ คุณก็จะสามารถนำ 2 อย่างนี้ไปใช้ต่อได้
#4. อย่าดูที่ขนาดของกล้องเพียงอย่างเดียว
ต้องบอกว่ากล้องดิจิตอลสมัยนี้ จิ๋วแต่แจ๋ว แม้จะเครื่องเล็กแต่คุณสมบัติไม่แพ้กล้องระดับมืออาชีพ แต่ก็นั่นแหละ สาระสำคัญคือ ต้องดูว่ามันเหมาะมือคุณหรือเปล่า น้ำหนักสิ่งมีผลต่อการพกพา คุณอาจจะไม่ต้องการกล้องที่เล็กที่สุด แต่คุณต้องการกล้องที่เหมาะมือต่างหาก
#5. ระวังโปรโมชั่น
กล้องที่มาพร้อมกับโปรโมชั่น แถมนู่น นี่นั่น มีการ์ดให้ พร้อมขาตั้ง มีกระเป๋า สารพัด มันก็ดีอยู่หรอก แต่อย่าลืมมองที่คุณภาพของกล้อง ของภาพที่จะออกมาด้วย อย่าลืมว่าคุณจะซื้อกล้องไม่ได้ซื้อโปรโมชั่น
#6. ตรวจสอบความสามารถในการซูมให้แน่ใจบางทีคุณอาจจะเคยเห็นโฆษณาบอกว่ากล้องนี้ซูมได้ 10x (10 เท่า) เห็นอย่างนี้แล้วคุณก็ต้องถามให้แน่ว่า 10x เนี่ยออพติคอลซูมกี่x และ ดิจิตอลซูมกี่x เพราะที่บอกว่า 10x เนี่ยมักจะเอาสองอย่างนี้มารวมกัน ฉะนั้นให้คุณสนใจที่ออพติคอลซูมเลือกที่มากที่สุดเท่าที่มีงบ ไม่ต้องไปสนใจที่ดิจิตอลซูม
#7. ดูภาพตัวอย่างก่อนซื้อ จะทำให้เราทราบว่ากล้องตัวนี้ถ่ายภาพได้คมชัดแค่ไหน
ข้อดีของกล้องดิจิตอลก็คือมันสามารถพรีวิวภาพที่ถ่ายได้ในช่องมองภาพ LCD ตรงนี้ที่คุณต้องดูว่ามันใหญ่พอสำหรับคุณหรือเปล่า (ยิ่งใหญ่มากก็เปลืองแบต) และสามารถขยายภาพดูได้หรือเปล่า ขยายดูสัก 100% เพื่อจะได้เช็คได้ว่ากล้องถ่ายได้ชัดเท่าที่ต้องการหรือเปล่า
#8. มีไมโครโฟนในตัวหรือเปล่า
อย่าทำหน้าสงสัยว่าจะเอาไปทำไม ก็ในเมื่อซื้อกล้องไปถ่ายภาพนิ่ง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่หลายคนมองข้ามถึงประโยชน์ของมัน 2 ประการ คือ คุณสามารถใช้กล้องบันทึกเสียงได้ และ สามารถบันทึกภาพวิดีโอสั้นๆ ได้
#9. ปริมาณพิกเซลที่แท้จริง
ถ้ากล้องที่คุณสนใจบอกว่ามี 10 megapixel และใช้เทคโนโลยี Foveon x3 ให้เอา 3 หาร 10 นั่นแปลว่ากล้องตัวนั้นมีพิกเซลที่แท้จริงเพียง 3.3 megapixel เพราะ เทคโนโลยี Foveon x3 คือการจำลองพิกเซล
#10. ความจุภาพ
เมื่อตัดสินใจซื้อกล้องแล้วก็เตรียมเงินซื้อการ์ดแมมไว้ด้วยเลย เพราะยังไงที่เขาแถมมาก็มักจะไม่ค่อยพอกับความต้องการอยู่แล้ว
#11. มีโปรแกรมถ่ายภาพกลางคืน
มีกล้องเป็นของตัวเองแล้ว จะอย่างไรก็คงต้องมีโอกาสได้ถ่ายภาพในสภาพแสงน้อย หรือถ่ายตอนกลางคืนแน่ๆ เพราะฉะนั้นก็ดูเลยว่ากล้องตัวที่สนใจมี ISO สูงสุดเท่าไร (สูงไว้ก่อนดี เพราะยิ่งมืดก็ยิ่งต้องใข ISO สูงๆ), มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวหรือเปล่า, มีโหมดถ่ายภาพกลางคืนให้มั้ย
#12. อย่าไปยึดติดกับเมก้าพิกเซล
ยิ่งเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น กล้องก็โฆษณาว่ามีจำนวนเมก้าพิกเซลมากขึ้น ทั้งที่ในความเป็นจริงมีจำนวนเมก้าพิกเซลเยอะๆ ก็ใช่ว่าคุณจะได้ภาพที่ชัด และยิ่งถ้าคุณแค่จะถ่ายภาพแล้วอัดรูปแค่ไม่กี่นิ้ว ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องใช้เมก้าพิกเซลสูงๆ ลองพิจารณาสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ความเร็วสูงสุด-ต่ำสุดของชัตเตอร์ (ถ่ายได้ฉับไว เช่น ถ่ายภาพคนวิ่ง), ระยะเวลาการเปิดกล้อง ใช้เวลานานเท่าไรถึงจะถ่ายได้
#13. เผื่อเงินไว้ด้วย เพราะบางทีอาจจะไม่ใช่แค่กล้องที่ต้องซื้อ
เมื่อมีกล้องก็ต้องมีเมมการ์ดไว้เก็บภาพ, ต้องมีการ์ดรีดเดอร์เอาไว้ดูดภาพจากกล้องเก็บเข้าคอมพ์, มีที่ชาร์ตแบตกล้อง, กระเป๋ากล้อง, ขาตั้ง บางทีอาจจะต้องเพิ่มฮาร์ดดิสก์คอมพ์ด้วยซ้ำ ยังไงถ้าต้องซื้อก็ซื้อพร้อมกันกับกล้องรวดเดียวเลย จะได้ต่อรองได้ราคาพิเศษ
#14. ระวังของถูก
ใครๆ ก็อยากได้ของถูก นอกจากผมจะเตือนให้ระวังโปรโมชั่นล่อใจแล้ว แนะนำให้หาซื้อในร้านค้าที่เราไว้ใจ หรือคุ้นเคย เพราะจะได้ไม่ถูกหลอกย้อมแมวขายแล้ว ยังอุ่นใจเรื่องบริการหลังการขายได้อีกด้วย
#15. โปรแกรมถ่ายอัตโนมัติ
โหมดถ่ายภาพอัตโนมัติ อาทิ ถ่ายกลางคืน, ถ่ายภาพบุคคล, ถ่ายภาพกีฬา, ถ่ายพลุ ฯลฯ เหล่านี้ต้องมี เพราะจะทำให้การถ่ายภาพของคุณสะดวก และสนุกขึ้น
#16. มีแฟลชในตัวหรือเปล่า
มันเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน เพราะฉะนั้นควรจะเลือกที่มีแฟลชในตัว ไม่งั้นจะถ่ายภาพกลางคืนได้ไง
#17. กล้องเก่าอย่าทิ้ง
ได้ใหม่อย่าลืมเก่า ของเก่ามีประโยชน์ ลองเอาไปให้ พ่อแม่ญาติพี่น้องใช้, เก็บไว้ใช้ในกรณีที่ตัวใหม่มีปัญหา, เอาไปบริจาค(ได้บุญ) หรือไม่ก็เอาไปเทิร์นเปลี่ยนเป็นเมมการ์ด ฯลฯ
#18. ออฟติคอล ซูมเท่าไรถึงจะพอ
สงสัยใช่มั้ยว่าตกลงจะเลือกซื้อกล้องที่มีจำนวน ออพติคอลซูมเท่าไรถึงจะพอ ผมมีข้อแนะนำ ถ้าคุณจะเอาไปใช้ถ่ายคนเป็นหลัก เช่น ถ่ายเพื่อนๆ ในงานปาร์ตี้ เลือกซื้อสัก 2x, 3x ก็พอ แต่ถ้าเน้นถ่าย outdoor ถ่ายวิว ถ่ายตึกก็ต้อง 5x ขึ้น แต่ถ้าต้องการใช้ถ่ายภาพที่เคลื่อนไหวที่ความเร็วสูง เช่น ถ่ายภาพคนวิ่ง รถแล่น สัตว์วิ่ง ก็ต้อง 7x ขึ้นไป อย่าลืมนะครับว่าต้องดูที่ ออพติคอลซูมเท่านั้น
#19. มีช่องต่อขาตั้งกล้องหรือเปล่า
เผื่อว่าคุณจะต้องตั้งกล้องภ่ายภาพ เช่น ตั้งเวลาถ่าย, ตั้งถ่ายพลุ แต่คุณไม่ช่องสำหรับต่อขาตั้งกล้องแล้วจะทำอย่างไร
#20. ลองเปรียบเทียบราคาในเนตดูก่อนซื้อ
เป็นอีกหนทางหนึ่งสำหรับคนฉลาดซื้อ ขยันเข้าอินเตอร์เนตเช็คราคาร้านนู้นร้านนี้ ก่อนจะตัดสินใจซื้อ หรือเดินเล่นดูหลายๆ ร้าน ถามราคาก่อนเลือกซื้อ
#21. ลองอ่านรีวิว ที่เขาแนะนำดูด้วย
ทั้งในเนต และนิตยสารเกี่ยวกับกล้องทุกฉบับ มีการรีวิวทดสอบกล้องให้คุณได้เลือกอ่านอยู่แล้ว ลองอ่านดูเสียหน่อย แม้ว่าจะมีศัพท์เทคนิค ที่ไม่เห็นจะรู้เรื่อง แต่ก็เอาเถอะ เผื่อว่ามันจะมีข้อมูลที่คุณพอจะเข้าใช้แล้วนำไปใช้ในการตัดสินใจซื้อ
22. ยิ่งมีเมก้าพิกเซลเท่าไรก็ยิ่งดี?
ผมแนะนำไปว่าเมก้าพิกเซลไม่ใช่สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อกล้อง มีมากไปก็ราคาแพง ซึ่งก็ไม่ได้ใช้ ถ้าคุณต้องการซื้อกล้องแล้วนำมา print รูปขนาด 8x10 ผมฟันธงเลยว่าคุณหากล้องสัก 5 megapixel ก็พอ มากกว่านี้ถือว่าไม่จำเป็น น้อยกว่านี้ก็จะได้คุณภาพรูปที่ไม่เพียงพอ
#23. ยิ่งมีฟังก์ชั่นมากเท่าไรยิ่งดี?
สำหรับมือใหม่มากๆ ลองมองหากล้องที่มีฟังก์ชั่น full control หรือโหมดอัตโนมัติแบบที่คุณกดชัตเตอร์อย่างเดียว คำนวนทุกอย่างให้เสร็จสรรพ อย่าลืมหาที่ไวท์บาลานซ์และไอเอสโอเป็นออโต้ด้วย จะทำให้ถ่ายง่ายขึ้นอีกเยอะ
#24. กันน้ำได้มั้ย
คงจะไม่ได้หมายถึงเอากล้องไปถ่ายใต้น้ำหรอก แต่เผื่อว่ามันจะหลุดมือพลัดตกน้ำ หรือตากฝน
#25. มี iso ต่ำสุด สูงสุด เท่าไร
ไอเอสโอ สูงๆ ทำให้คุณถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้ดี แต่มันก็ทำให้ภาพเำิกิดน้อยซ์ noise คือภาพเป็นเม็ดสีเล็กๆๆๆ กลับกัน ไอเอสโอต่ำๆ ก็ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์ มันจะทำให้ภาพของคุณชัดใสมากขึ้น ลองมองหาไอเอสโอสัก 50 และใช้ถ่ายในที่แสงจัดๆ จะได้ภาพที่ชัดสวยมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น