วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การ์ดเสียง (Sound card)

                                                                                        

การ์ดเสียง (Sound card)สียงเป็น ส่วนสำคัญของระบบมัลติมีเดียไม่น้อยกว่าภาพ ดังนั้นการ์ดเสียงจึงเป็นอุปกรณ์ จำเป็นที่สำคัญของระบบ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย การ์ดเสียงได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างรวดเร็วเพื่อ ให้ได้
ประสิทธิภาพของเสียงและความผิดเพี้ยน น้อยที่สุด ตลอดจนระบบเสียง 3 มิติในปัจจุบัน ความชัดเจน ของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่าง และ ความแม่นยำ ของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนด โดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความ ละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณ ค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูก กำหนด โดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น - A/D Converter 8 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ - A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของ สัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียง ที่ได้รับดีขึ้นนั่นเอง แต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย

ส่วนประกอบของการ์ดเสียง 

การ์ดเสียงเกิดจากการนำเอาอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์มาประกอบรวมกันบนแผง PCB (Print Circuit Board) โดยมี ชิปที่เป็นอุปกรณ์หลักในการสร้างเสียงคือ Synthesizer ซึ่งในปัจจุบันมักเป็นแบบ wave table โดยผู้ผลิตชิปสังเคราะห์ เสียงที่มีชื่อเสียง คือ ESS และ Yamaha ส่วนอื่นจะเป็นช่องต่อสำหรับนำสัญญาณเข้า-ออก เพื่อทำงานด้านเสียง 

1. คอนเน็คเตอร์ CD Audio เป็นส่วนที่อยู่ในเครื่อง เพื่อรับสัญญาณเสียงแบบอนาล็อกจากไดร์ฟซีดีรอมผ่านสายเชื่อม ต่อที่มี 4 ช่อง สำหรับนำมาเสียบเข้ากับตัวคอนเน็คเตอร์ การเสียบผิด ด้านไม่ทำให้เสียหายแต่จะเป็นการสลับช่องสัญญาณออก สู่ ลำโพงซ้าย-ขวา เท่านั้น 

2. ชิปสังเคราะห์เสียง หรือ Synthesizer ในยุคแรกเป็นแบบ FM ที่เรียกว่า Frequency Modulation เป็นการ สังเคราะห์เสียงแบบผสมความถี่ซึ่งไม่นิยมใช้ ปัจจุบันนี้ เพราะไม่สามารถให้เสียงที่เป็นธรรมชาติเหมือนเครื่องดนตรีจริงได้ WaveTable เป็นวิธีการสังเคราะห์เสียงที่นิยมใช้กันมากที่สุด ในยุคปัจจุบันเนื่องจากสามารถให้เสียงได้ใกล้เคียงกับเครื่อง ดนตรีจริงมากที่สุด ซึ่งวิธีการคือ บันทึกเสียงเครื่องดนตรีจริงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดไว้เป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อเก็บไว้เป็นต้น แบบไปหาจากเสียงต้นแบบในตารางเสียงที่มีความถี่เดียวกันมา การ์ดเสียงที่ใช้วิธีการนี้ จึงให้เสียงเหมือนกับมีเครื่องดนตรี บรรเลงอยู่จริง ๆ  
3. ช่อง Line - out (สีชมพู) ช่องต่อนี้จะมีเฉพาะการ์ดเสียงแบบ 4 แชนแนล ใช้สำหรับต่อสัญญาณเสียง ไปยังลำโพง แบบ Surround ซ้าย-ขวา 
4. ช่อง Line - in (สีน้ำเงิน) สำหรับรับสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์กำเนินเสียงอื่น เช่น เครื่องเล่นวิทยุ - เทป เครื่องเล่นซีดี ฯลฯ เข้ามาที่การ์ดเพื่อขยายสัญญาณเสียง หรือแสดงผลที่เครื่องของเรา 
5. ช่อง Speaker (สีเขียว) สำหรับส่งสัญญาณเสียงจากการ์ดเสียงออกไปยังลำโพงปกติในแบบสเตอริโอ 
6. MIDI/Game Port เป็นคอนเน็คเตอร์รูปตัว "D" ใช้ต่อพ่วงอุปกรณ์ประเภท MIDI หรืออุปกรณ์สำหรับเล่นเกม เช่น จอยสติก เกมแพด ฯลฯ

โมเด็ม (modem)


โมเด็ม (อังกฤษ: modem ย่อมาจากคำว่า modulate and demodulate) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณอะนาล็อกให้อยู่ในรูปดิจิทัลและแปลงกลับในทิศทางตรงข้าม จุดประสงค์ของโมเด็มคือการสร้างสัญญาณอะนาล็อกที่ง่ายต่อการส่งข้อมูล และสัญญาณดิจิทัลที่ง่ายต่อการประมวลผล
อุปกรณ์หลายชนิดสามารถถือว่าเป็นโมเด็มได้ แต่โมเด็มประเภทที่แพร่หลายที่สุดคือโมเด็มที่แปลงเลข 0 และ 1 ซึ่งใช้ในคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณเสียงที่ส่งผ่านในสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม และทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงกลับมาเป็นข้อมูลดิจิทัลในอีกด้านหนึ่งของผู้รับสัญญาณ

ปัจจุบันมีโมเด็มชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น เคเบิลโมเด็ม, ADSL โมเด็ม, โมเด็มที่ใช้รับสัญญาณไมโครเวฟ เป็นต้น

โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้


1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K
2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล
ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ
3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร
โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
5. 
ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก
โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems)
6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้
โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย


ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง 
              เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่น
1. พบปะพูดคุย 
2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน 
3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต 
4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้ 
5. ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้ 
6. ส่ง - รับโทรสาร 
7. ตอบรับโทรศัพท์






วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ศัพท์คอมพิวเตอร์


บทที่ 1
คำศัพท์
คำอ่าน
คำแปล
ANALOG COMPUTER
อะ-นา-ลอก-คอม-พิว-เตอ
อนาล็อกคอมพิวเตอร์
DIGITAL COMPUTER
ดิ-จิ-ตอน-คอม-พิว-เตอ
ดิจิตอลคอมพิวเตอร์
INPUT
อิน-พุด
      รับข้อมูล
PROCESS
โป-เสด
ประมวลผล
OUTPUT
เอ้า-พุด
ขาออก,ผลรับ
STORAGE
สะ-ตอง-เรด
เก็บข้อมูล
SURE
ซู
น่าเชื่อถือ
KEYBOARD
คี-บอด
แป้นพิมพ์
GRAPHICS TABLET
กราฟ-ฟิก-แทบ-เรด
เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟฟิก
JOYSTICK
จอย-สะ-ติก
ก้านควบคุม

บทที่ 2
คำศัพท์
คำอ่าน
คำแปล

MAIN BOARD
             
                     เมน-บอด
วงจรและอุปกรณ์พื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์
CASE
เคส
กรณี
SLOT
สะ-ล็อด
              ช่อง

CHIPSET

ชิป-เซท
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอกนิกส์สำหรับควบคุมการทำงานต่างๆ ของเมนบอร์ด
SOCKET
ซ็อก-เกต
เต้ารับ
MOTHER BOARD
มอ-เทอ-บอด
เมนบอร์ด
POWER SUPPLY
พาว-เวอ-ซับ-พาย
หม้อแปลงจ่ายไฟ
SERVER
เซ-เวอ
เครื่องบริการ หรือ เครื่องแม่ข่าย
MI CRO
ไม-โค
ขนาดเล็กจิ๋ว
ATX
เอ-ที-เอ็ก
เมนบอร์ด ATX แบบมาตรฐาน


บทที่ 3
คำศัพท์
คำอ่าน
คำแปล
Control Unit
คอน-โท-ยู-นิต
ส่วนควบคุม
Processor
โปร-เซส-เซอ
หน่วยประมวนผล
Polling
โพล-ลิ่ง
การติดต่ออุปกรณ์รูปแบบหนึ่ง
Interrupt
อิน-เทอ-รัป
การติดต่ออุปกรณ์รูปแบบหนึ่ง
Over Clock
โอ-เวอ-คล็อก
การปรับสัญญาณนาฬิกา
Celeron
เซล-เลอ-รอน
ชื่อตระกูลซีพียูอินเทล
Multitasking
มัล-ติ-ทาส
ทำงานหลากหลายในเวลาเดียว
Graphic
กราฟ-ฟิก
ทัศนศิลป์อย่างหนึ่ง
Error
เออ-เร่อ
ข้อผิดพลาด


บทที่ 4
คำศัพท์
คำอ่าน
คำแปล
RAM
แรม
หน่วยความจำ
ROM
รอม
หน่วยความจำที่อ่านอย่างเดียว
RAM BUS
แรม-บัส
ช่องการส่งรับข้อมูลของแรม
Memory Stick
เมม-โม-รี-สะ-ติก
เก็บข้อมูลเหมือน Thumb Drive
Volatine
วอ-รา-เทน
ข้อมูลที่เก็บจะสูญหายถ้าไม่มีไฟ
Smart Drive
สะ-มาด-ได
การ์ดหน่วยความจำ
Row data
โรว-ดา-ต้า
ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้กลั่นกรอง
Dynamic
ได-นา-มิก
ค่าที่ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงเสมอ
Static
สะ-ตา-ทิก
ค่าคงที่,ข้อมูลตายตัว


บทที่ 5
คำศัพท์
คำอ่าน
คำแปล
Sector
เซก-เตอ
ดิสก์ที่ได้รับการแบ่งออก
Recording
เรค-คอด-ดิ้ง
บันทึก
Clusters
ครัท-เทอ
หน่วยทางตรรกะการเก็บไฟล์
Seek Time
ซีก-ทาม
เวลาในการค้นหา
Disk Platters
ดิส-แพน-เทอ
จาน Diskหลายแผ่นมารวมกัน
Partition
พา-ติ-ชั่น
แบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ให้เป็นส่วนๆ
Defragmenters
ดี-แฟก-เม้น
การจัดเรียงข้อมูล
management
เม-เนด-เม้น
การจัดการ
Hard Disk
ฮาด-ดิส
หน่วยเก็บข้อมูล